การดำเนินโครงการ ของ โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท

ในการประชุมนัดแรกของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท โดยเป็นตัวแทนของกระทรวงการคลังในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือกับสำนักงบประมาณ, สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง, กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์, สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และธนาคารออมสิน เพื่อศึกษารายละเอียด กำหนดเงื่อนไข และแนวทางในการดำเนินโครงการ[9] โดยได้มีการประชุมดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 และ 27 กันยายน[10][11]

ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีองค์ประกอบดังนี้[12]

คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท
ลำดับที่ชื่อตำแหน่งหลักตำแหน่งในคณะกรรมการ
1นายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประธานกรรมการ
2นายภูมิธรรม เวชยชัยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รองประธานกรรมการ คนที่ 1
3นายปานปรีย์ พหิทธานุกรรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรองประธานกรรมการ คนที่ 2
4นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรองประธานกรรมการ คนที่ 3
5นายประเสริฐ จันทรรวงทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรองประธานกรรมการ คนที่ 4
6นายกฤษฎา จีนะวิจารณะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังกรรมการ
7นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์
8นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดชเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
9นายเผ่าภูมิ โรจนสกุลเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
10ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
11นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญปลัดกระทรวงมหาดไทย
12นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
13นายดนุชา พิชยนันท์เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
14นายเฉลิมพล เพ็ญสูตรผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
15นายปกรณ์ นิลประพันธ์เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
16นายอำนาจ เจตน์เจริญรักษ์อัยการสูงสุด
17พลตำรวจเอก ต่อศักดิ์ สุขวิมลผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
18นายวิทัย รัตนากรประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ
19นายผยง ศรีวณิชประธานสมาคมธนาคารไทย
20ไม่ทราบผู้ทรงคุณวุฒิด้านกระเป๋าเงินดิจิทัล
21ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและการคลัง
22ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบล็อกเชน
23นายลวรณ แสงสนิทปลัดกระทรวงการคลังกรรมการและเลขานุการร่วม
24นายกีรติ รัชโนปลัดกระทรวงพาณิชย์
25นายพรชัย ฐีระเวชผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังผู้ช่วยเลขานุการ
26ไม่ทราบผู้แทนกระทรวงพาณิชย์
27รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหารที่ได้รับมอบหมาย
28นายสิทธิรัตน์ ดรงคมาศผู้ช่วยปลัดกระทรวงการคลัง

ต่อมาเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม คณะกรรมการนโยบายโครงการได้จัดการประชุมนัดแรก ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบหลักการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการ เพื่อพิจารณารายละเอียดของโครงการ โดยมีจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นประธานคณะอนุกรรมการ[13] และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการได้จัดการประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม[14] ซึ่งคณะอนุกรรมการได้มอบหมายภารกิจที่เกี่ยวข้องกับโครงการให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปดำเนินการ เช่น สมาคมธนาคารไทยจัดหาผู้จัดทำระบบเติมเงินที่มีเงื่อนไขผ่านทางกระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งต่อมาเปิดเผยว่าเป็น "โปรแกรมประยุกต์พิเศษแห่งชาติ"[15], สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบและป้องกันการทุจริต, กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลองค์การตลาด ช่วยยืนยันร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ[16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท https://www.prachachat.net/finance/news-1376201 https://workpointtoday.com/politics-patongtan20325... https://workpointtoday.com/election-pheuthai-3/ https://thestandard.co/srettha-digital-wallet-poli... https://www.thairath.co.th/news/politic/2719807 https://www.bbc.com/thai/articles/cnlzk89n9eqo https://www.tnnthailand.com/news/politics/155252/ https://thaipublica.org/2023/09/borrow-money-gsb-g... https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2566/P_409... https://resolution.soc.go.th/PDF_UPLOAD/2566/P_409...